บริษัท โปร-ทีม ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด.
ที่อยู่ : เลขที่ 51/82 หมู่ 5 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง
จังหวัด : ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ : 12120
เบอร์โทร/แฟ็กซ์ : 0-2101-1450 มือถือ : 061-4978954 , 092-4565615
อีเมล : pro-t2010@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.pro-team2010.com
ข้อมูลเกี่ยวกับปลวก ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศน์ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสซึ่งเปน็ส่วนประกอบที่สำคัญในไม้และเส้นใยต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก ในการดำรงชีวิต ดังนั้น เราจึงพบปลวกเข้าทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้หรือโครงสร้างไม้ภายใน อาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มี เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าสองร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความ เสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ก่อให้เกิด ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้น จากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแตกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อม ระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้างไม้ต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น เสา คานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบ ประตู และหน้าต่าง เป็นต้น ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของ ปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกจะช่วยให้สามารถวางแผนแนวทางในการ ป้องกันกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายใต้อาคาร เป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษทำให้ ปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้ การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลาย ๆ ขั้นตอนในการป้องกัน กำจัดปลวกนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อช่วยลดความเสียหาย และช่วยยืดอายุการ ใช้ประโยชน์ไม้ให้คงทนถาวรยิ่งขึ้น ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวก ชีวิตความเป็นอยู่ของปลวก ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง โดยทั่วไปมีนิสัย 62 คู่มือ ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืด และอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะ ต่าง ๆ รวม 3 วรรณะ คือ
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีก มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และขยายพันธุ์ โดยจะบิน ออกจากรังเมื่อมีสภาพอากาศเหมาะสม จับคู่กันแล้วสลัดปีก ผสมพันธุ์ จากนั้นจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อ วางไข่
เปนปลวกตัวเล็กที่พบเห็นกันมาก โดยทั่วไปมีสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเปน อวัยวะรับความรู้สึก คลำทาง ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาปอนราชินี ราชา ตัวอ่อนและ ทหาร ซึ่งจะไม่หาอาหารกินเอง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อรา และซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
เปนปลวกที่มีหัวขนาดใหญ่ สีเข้ม มีโครงสร้างผนังลำตัวที่แข็งแรงกว่าในวรรณะอื่น มีกรามขนาด ใหญ่ซึ่งดัดแปลงไปเปนอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคมสำหรับใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิก ภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนของหัวให้ยื่นยาวออกไปเปนงวง ที่สามารถผลิต สารที่มีลักษณะเหนียวข้นสำหรับพ่นไปติดตัวศัตรู ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้ การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวกเริ่มต้นขึ้นเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มักเปนช่วงต้น ฤดูฝนภายหลังฝนตกซึ่งจะมีปริมาณความชื้นในอากาศสูง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมียจะบินออกจากรังใน ช่วงเวลาพลบค่ำเพื่อมาเล่นไฟจับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจะสลัดปีกทิ้งไปแล้วลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มี แหล่งอาหารและความชื้นเหมาะสม หลังจากปรับสภาพดินเปนที่อยู่อาศัยแล้วประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่ เปนฟองเดี่ยว ๆ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฟกออกมาเปนตัวอ่อน (larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเปนตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟกออกมาเปนปลวกไม่มีปีก และ เปนหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่า ฟีโรโมน หรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินีเพื่อให้ตัวอ่อนกินจะเปน ตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเปนปลวกวรรณะต่าง ๆ เช่น ปลวกงาน (worker) ปลวกทหาร (soldier) โดย บางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเปนปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์ (nymph) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเปน แมลงเม่าซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตไปเปนปลวก วรรณะสืบพันธุ์รอง (supplementary reproductive) ซึ่งจะทำหน้าที่ผสมพันธุ์ และออกไข่เพิ่มจำนวน ประชากรแทนราชาหรือราชินี ในกรณีที่ราชา (king) หรือราชินี (queen) ของรังถูกทำลายไป
นิเวศวิทยาของปลวก สภาพความเป็นอยู่หรือสภาพทางนิเวศวิทยา รวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวก แตกต่างกัน ออกไปแล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่ อาศัยเป็นหลักได้ ดังนี้
ปลวกประเภทนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยไม่มีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับ พื้นดินเลย ลักษณะโดยทั่วไปที่บ่งชี้ว่ามีปลวกในกลุ่มนี้เข้าทำลายไม้ คือ พบวัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรีอยู่ภายใน เนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรง หรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้ เราอาจแบ่งปลวกประเภทนี้เป็นกลุ่ม ย่อยลงไปอีกตามลักษณะความชื้นของไม้ที่ปลวกเข้าทำลาย ดังนี้
ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้ง หรือไม้ที่มีอายุการใช้งานมานานและมีความชื้นต่ำ โดยปกติ มักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็ก ๆ กองอยู่บนพื้นบริเวณโคน เสา ฝาผนัง หรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำลายไม้เฉพาะภายในชิ้นไม้โดยเหลือผิวไม้ ด้านนอกบาง ๆ ทำให้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี
ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอาหารอยู่ภายในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้น หรือไม้ท่อนซุงล้มตายที่มี ความชื้นภายในเนื้อไม้สูง ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณป่าดิบชื้น ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป โดยเฉพาะปลวกในสกุล Archotermopsis ซึ่งจัดเปนปลวกชนิดดึกดำบรรพ์ พบหลักฐานว่ามีชีวิตอยู่ในยุค ็ เดียว กับไดโนเสาร์
ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดินแล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดินหรือเหนือพื้นดินขึ้นไป โดย ส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินดินเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นและป้องกันอันตรายจากศัตรูภายนอก จำแนก เป็น 3 กลุ่ม คือ
เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน มีลักษณะของการเข้าทำลายไม้และที่อยู่อาศัยเฉพาะ เจาะจงไปแต่ละสกุล เช่น ปลวกในสกุล Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes และ Hypotermes เป็นต้น
เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดิน เช่น ปลวกในสกุล Globitermes, Odontotermes และ Macrotermes เป็นต้น ลักษณะของรังแต่ละสกุลจะแตกต่างกันไป ผู้ที่มีความชำนาญ สามารถจำแนกชนิดเบื้องต้นได้จากรูปร่าง ขนาด และลักษณะส่วนประกอบของรังปลวก คู่มือ ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง 65
เปนปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟา หรือ โครงสร้างอื่น ๆ ภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล Microcerotermes, Termes, Dicuspiditermes, Nasutitermes และ Hospitalitermes เปนต้น ลักษณะของรังปลวกประเภทนี้ก็แตกต่างกันไปในแต่ละสกุล สามารถใช้เปนข้อมูลในการจำแนกชนิดได้เช่นกัน
ปลวกไม้แห้ง>>> แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเปน 4 ประเภท คือ 1. ไม้ (wood) 2. ดิน และฮิวมัส (soil and humus) 3. ใบไม้ และเศษซากพืชที่ทับถมกันอยู่บนพื้นดิน (leaves and litter) 4. ไลเคน และมอส (lichen and moss) ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีเซลลูโลสเปน องค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียว คือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือ จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรียและเชื้อราในปลวกชั้นสูง ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ช่วยในการย่อยอาหารประเภท เซลลูโลส หรือสารประกอบอื่น ๆ ให้กลายเปนอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก บทบาทของปลวกในระบบนิเวศน์ ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก ปลวกเปนแมลงที่มีบทบาทสำคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ คือ 1. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และส่วนต่าง ๆ ของพืช ที่หักร่วงหล่นหรือล้มตายทับถมกันอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนให้กลายสภาพเปนฮิวมัสในดิน เปนต้นกำเนิดของ ขบวนการหมุนเวียนของธาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับ ในป่าธรรมชาติเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี 2. มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ นอกเหนือจากช่วยให้พรรณพืชในป่าเจริญ เติบโตดี ตัวปลวกเองยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคก และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอด ๆ 3. เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ ปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็น อาหารที่มีรสชาติอร่อยและมีราคาแพง สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ โดยมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายใน รังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต 4.จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวกสามารถผลิตเอนไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม หรือใช้ในการแก้ไขและควบคุม มลภาวะสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์ตกค้างนาน การกำจัดน้ำเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรม หรือการย่อยสลายขยะ เป็นต้น
โทษที่เกิดจากปลวก ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความเสียหายที่เกิดจากปลวกส่วนใหญ่เกิดจาก การเข้าทำลายพืชเกษตร ไม้ และผลผลิตจากไม้ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น • กล้าไม้ และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและสวนป่า • ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง • ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน • วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และพืชเส้นใย เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรม และเสื้อผ้า เป็นต้น
ปลวกโดยส่วนมากจะมีช่องทางการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่หลายช่องทาง อาทิเช่น ตามรอย แตกร้าวของพื้นคอนกรีต บันได หรือรอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตและผนังอาคาร ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง และตาม ปล่องท่อสายไฟ การป้องกันและกำจัดปลวกนั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้ 1. การป้องกันโดยใช้สารเคมี การใช้สารป้องกันกำจัดปลวก (termiticides) เป็นการกำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารเคมีลงไปในพื้นดินใต้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อ ทำให้ดินมีสภาพเป็นพิษ ปลวกไม่สามารถเจาะทะลุผ่านได้ หรืออาจใช้สารเคมีกำจัดปลวกโรยหรือฉีดพ่นให้โดน ตัวปลวกโดยตรง วิธีการใช้สารเคมีนี้ในปจจุบันพับว่าเป็นวิธีป้องกันกำจัดปลวกที่ได้ผลดีที่สุด 2. การจัดการปลวกก่อนและในระหว่างการก่อสร้าง มีขั้นตอนควรปฏิบัติ การสำรวจพื้นที่ที่จะปลูกสร้างอาคารในการวางท่อใต้ตามแนวคาน การวางแนวป้องกันโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก (termiticide barrier) เป็นวิธีการทำให้พื้นดินภายใต้อาคาร และบริเวณรอบ ๆ อาคารเป็นพิษปลวกไม่สามารถ เจาะทะลุผ่านได้ ในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกใต้ดินให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ สำหรับอาคารพื้นติดดิน
• ถมดินและปรับระดับพื้นดินใต้อาคารให้ได้ระดับที่ต้องการ เก็บเศษไม้ หรือเศษวัสดุที่จะ เป็นแหล่งอาหารของปลวกออกให้หมด • ใช้สารป้องกันกำจัดปลวกฉีดพ่น หรือราดลงบนพื้นผิวภายใต้ตัวอาคารให้ทั่ว ในอัตราสาร เคมีผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดในปริมาณ 5 ลิตร ต่อทุก ๆ 1 ตารางเมตร สำหรับบริเวณแนวคานคอดิน ให้ ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงใช้สาร ป้องกันกำจัดปลวกที่ผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดเทราดลงไปตามร่องนั้น ในอัตราสารป้องกันกำจัดปลวกที่ ผสมแล้ว 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร • ฉีดพ่นหรือราดด้วยสารป้องกันกำจัดปลวกซ้ำอีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่ทำการถมดินหรือ ถมทราย แล้วอัดพื้นให้แน่น ก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต • บริเวณรอบ ๆ อาคาร ควรฉีดหรือพ่นสารป้องกันกำจัดปลวกให้เป็นแนวป้องกันรอบนอก อาคารอีกครั้ง โดยใช้สารป้องกันกำจัดปลวกที่ผสมแล้วในอัตรา 5 ลิตร ต่อทุกระยะ 1 ตารางเมตร โดยรอบ อาคาร 3.การวางเหยื่ออาหารล่อปลวก การวางเหยื่ออาหารล่อปลวกไว้ภายในหรือภายนอกอาคาร วิธีการนี้สามารถใช้ ในการล่อปลวกจำนวนมากซึ่งเราไม่สามารถสำรวจพบได้ ให้เข้ามากินอาหารที่นำมาล่อไว้ ซึ่งเหยื่ออาหารที่นำ มาล่ออาจเป็นไม้หรือกระดาษก็ได้ จากนั้นนำไปกำจัดต่อไป จะสามารถลดจำนวนปลวกในพื้นที่นั้น ๆ ให้ น้อยลงได้ ซึ่งสามารถช่วยลดระดับความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวก ให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดความเสียหายได้ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |